+Artificial Intelligence+
Artificial Intelligence เป็นทั้งวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมของการสร้างเครื่องจักรกลเพื่อให้มีความฉลาด มีสติปัญญา โดยเฉพาะ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีสติปัญญา ซึ่งมันจะเกี่ยวพันถึงงานที่จะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำความเข้าใจถึงสติปัญญาของมนุษย์ ยกตัวอย่าง เช่น หุ่นยนต์ เครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น
*ตัวอย่างเช่น*
หุ่นยนต์ผ่าตัด [ Robotic Surgery ]
ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง โดย การใช้กล้องส่องขยายภาพผ่าตัด (Laparoscopic Surgery) เป็น การผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery) ซึ่งคนไข้จะได้รับประโยชน์ในการผ่าตัดแบบส่องกล้องอย่างมาก โดยผู้ป่วยจะฟื้นตัวและกลับไปทำงานได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery)และยังเสียเลือดระหว่างผ่าตัดน้อยกว่า แต่ยังมีข้อจำกัดในภาพที่มองเห็นเป็นสองมิติ ขาดความลึก และข้อจำกัดของเครื่องมือที่ใช้ผ่าตัด ไม่สามารถจะหักมุมงอเข้าสู่ที่คับแคบได้ และข้อจำกัดของการหมุนข้อมือของศัลยแพทย์ ผู้ทำการผ่าตัด ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงของอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของการผ่าตัด และการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น คือ การพัฒนาการผ่าตัดแบบใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
แบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgical Robotics)เครื่องมือชนิดแรกที่ได้พัฒนาออกมาในปี 2532 คือ หุ่นยนต์ ที่ช่วยในการถือแขนกล้อง ในการผ่าตัดแบบส่องกล้อง โดยทำงานคล้ายเป็นแขนที่สามของแพทย์ผ่าตัด ต่อมา ได้มีการพัฒนาแขนหุ่นยนต์เพิ่ม เพื่อใช้ในการช่วยผ่าตัด ในปี 2538 โดยบริษัท Intuitive surgical Inc., ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ก่อตั้งขึ้นโดย กองทุนการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ของ Stanford Research Institute (SRI) International และในเวลาต่อมา ได้ร่วมมือกับสถาบันและบริษัทชั้นนำ อย่าง IBM Corporation, Massachusetts Institute of Technology (MIT), Heartport Inc., Olympus Optical, Ethicon Endo-Surgery (Johnson & Johnson Company) และ Medtronic Inc. พัฒนาตัวหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด da Vinci ขึ้นมาในปี 2540 และต่อมา ในปี 2543 หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด da Vinci ได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ให้เป็น หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดแบบส่องกล้อง ตัวแรก ที่สามารถทำการผ่าตัดได้ในคนจริง ให้ระบบภาพสามมิติ ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ เครื่องมือของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดถูกพัฒนาให้สามารถหักงอข้อมือ และหมุนข้อมือได้อย่างอิสระ ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูง นำไปสู่การผ่าตัดในที่เล็กและแคบได้ดี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมีความง่ายดาย ราวกับการผ่าตัดแบบเปิด ในปัจจุบัน da Vinci Si HD “หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรุ่นล่าสุด” จะให้ภาพความละเอียดสูงสุด และให้กำลังขยายภาพบริเวณที่ทำการผ่าตัดถึง 10 เท่า ทั้งยังสามารถติดตั้งคอนโซลคู่ สำหรับสำหรับศัลยแพทย์สองคนเข้าร่วมผ่าตัด เพื่อใช้ในการช่วยผ่าตัดบังคับแขนหุ่นยนต์ สำหรับการผ่าตัด ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนแบบแผลเล็ก อีกทั้ง ยังสามารถใช้พัฒนาการสอน หรือการฝึกผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดได้อีกด้วย
+องค์ประกอบ+
ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ...
ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ...
ส่วนที่ 1 : ส่วนควบคุมการผ่าตัด (Surgeon Console) เป็นเสมือน “สมอง” ของระบบการผ่าตัด โดยศัลยแพทย์จะนั่งหน้าคอนโซล บังคับควบคุมการทำงานของแขนหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับหุ่นยนต์ ที่อยู่ในช่องท้องของคนไข้ และมีช่องมองภาพ ที่เห็นจากการผ่าตัด ซึ่งจะเป็น “ภาพ 3 มิติ” กล่าวคือ สามารถมองเห็นในมิติ “ความลึก” ได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมี กำลังขยายภาพของกล้องส่องผ่าตัดสูงถึง 10 เท่า ทำให้การกะระยะต่างๆ ในระหว่างการผ่าตัดมี ความถูกต้อง และแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ การผ่าตัดที่ต้องการ ความปลอดภัย ทั้งยังช่วยลดการเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทใกล้เคียง หุ่นยนต์ผ่าตัดรุ่นปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีส่วนควบคุม 2ชุด (DualConsole) เพื่อรองรับการทำการผ่าตัดร่วมกันของศัลยแพทย์สองคนรวมถึง ใช้ในการเรียนการสอน ในขณะทำการผ่าตัดจริง และการให้คำแนะนำ ในขณะทำการผ่าตัดด้วย
ส่วนที่ 2 : ตัวหุ่นยนต์ผ่าตัด (Patient Cart)เป็นเสมือน “แขน” ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ประกอบด้วย แขนหุ่นยนต์ 4 แขน โดยเป็น แขนช่วยจับกล้อง 1 แขน และอีก 3 แขนสำหรับการติดตั้งเครื่องมือ ที่ใช้ร่วมกับแขนหุ่นยนต์ โดนปลายเครื่องมือของแขนหุ่นยนต์จะมีลักษณะคล้ายมือ สามารถทำงานได้เสมือนกับมือของศัลยแพทย์ตามปกติ แต่ได้รับการพัฒนาให้ลดข้อจำกัดของข้อมือมนุษย์ คือ
สามารถหัก−งอข้อมือ / หมุนข้อมือได้อย่างอิสระ และได้โดยรอบ ทำให้เครื่องมือสามารถเข้าไปผ่าตัดในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด หรือช่องผ่าตัดที่เล็กๆ ได้อย่างแม่นยำ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้นส่วนที่ 3 : ระบบควบคุมภาพ (Vision Cart)เป็นเสมือน “ตา” ให้แก่แพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด และพยาบาล เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพการผ่าตัด ภายใต้กล้องในบริเวณที่ทำการผ่าตัดภายในตัวผู้ป่วย
ส่วนที่ 3 : ระบบควบคุมภาพ (Vision Cart)เป็นเสมือน “ตา” ให้แก่แพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด และพยาบาล เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพการผ่าตัด ภายใต้กล้องในบริเวณที่ทำการผ่าตัดภายในตัวผู้ป่วย
หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotic Surgery) สามารถทำการผ่าตัดได้หลายประเภท อาทิ การผ่าตัดทางศัลยกรรมทั่วไป เช่น การผ่าตัดถุงน้ำดี,การผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้, การผ่าตัดตับและตับอ่อน รวมทั้งยังสามารถใช้ใน การผ่าตัดทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก,การผ่าตัดทางระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งที่นิยมผ่าตัดด้วยการใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดมากที่สุดได้แก่ การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากมีพื้นที่ที่ทำการผ่าตัดค่อนข้างจำกัด และมีเส้นประสาท ที่ต้องระวังในการทำผ่าตัด การผ่าตัดโดยใช้ หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotic Surgery) จึง มีความปลอดภัยมากกว่าและทำให้คุณภาพชีวิตหลังผ่าตัดดีกว่า นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการผ่าตัดทางสูตินรีเวช เช่น การผ่าตัดเอามดลูกออก เป็นต้น
+ประโยชน์+
1.ช่วยให้การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง (LaparoscopicSurgery) ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery)มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
2. ช่วยลดการติดเชื้อของแผลผ่าตัด และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ทำให้ กลับไปมีกิจกรรมปกติของชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
3. ช่วย ลดอาการปวดแผลหลังการผ่าตัดได้มากกว่า การผ่าตัดส่องกล้องแบบธรรมดา เนื่องจากลดการดึงรั้ง และการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบท่อนำอุปกรณ์
4. ให้ ความแม่นยำในการผ่าตัดมากขึ้น เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ผ่าตัดสามารถงอ และเคลื่อนไหวข้อได้อย่างอิสระโดยรอบ
5. ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นภาพ ในบริเวณที่ทำการผ่าตัด แบบ 3 มิติ และ ขนาดของภาพขยายได้มากถึง 10 เท่าช่วยให้การผ่าตัดที่ต้องใช้ความละเอียดสูง เช่น การเลาะต่อมน้ำเหลืองและการเลาะเส้นประสาท สามารถทำได้อย่างแม่นยำ
6. ช่วย ลดเวลาในการผ่าตัดลง ด้วยความนิ่ง และความแม่นยำของการบังคับแขนหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
7. การทำงานแบบคอนโซลคู่ (Dual Console) ช่วยให้ แพทย์สามารถใช้กับการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนได้สะดวก และยังช่วยให้สามารถผ่าตัดแบบเปิดแผลเล็กได้ดีมากขึ้น
ส่วนที่ 2 : ตัวหุ่นยนต์ผ่าตัด (Patient Cart)เป็นเสมือน “แขน” ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ประกอบด้วย แขนหุ่นยนต์ 4 แขน โดยเป็น แขนช่วยจับกล้อง 1 แขน และอีก 3 แขนสำหรับการติดตั้งเครื่องมือ ที่ใช้ร่วมกับแขนหุ่นยนต์ โดนปลายเครื่องมือของแขนหุ่นยนต์จะมีลักษณะคล้ายมือ สามารถทำงานได้เสมือนกับมือของศัลยแพทย์ตามปกติ แต่ได้รับการพัฒนาให้ลดข้อจำกัดของข้อมือมนุษย์ คือ
สามารถหัก−งอข้อมือ / หมุนข้อมือได้อย่างอิสระ และได้โดยรอบ ทำให้เครื่องมือสามารถเข้าไปผ่าตัดในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด หรือช่องผ่าตัดที่เล็กๆ ได้อย่างแม่นยำ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้นส่วนที่ 3 : ระบบควบคุมภาพ (Vision Cart)เป็นเสมือน “ตา” ให้แก่แพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด และพยาบาล เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพการผ่าตัด ภายใต้กล้องในบริเวณที่ทำการผ่าตัดภายในตัวผู้ป่วย
ส่วนที่ 3 : ระบบควบคุมภาพ (Vision Cart)เป็นเสมือน “ตา” ให้แก่แพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด และพยาบาล เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพการผ่าตัด ภายใต้กล้องในบริเวณที่ทำการผ่าตัดภายในตัวผู้ป่วย
หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotic Surgery) สามารถทำการผ่าตัดได้หลายประเภท อาทิ การผ่าตัดทางศัลยกรรมทั่วไป เช่น การผ่าตัดถุงน้ำดี,การผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้, การผ่าตัดตับและตับอ่อน รวมทั้งยังสามารถใช้ใน การผ่าตัดทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก,การผ่าตัดทางระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งที่นิยมผ่าตัดด้วยการใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดมากที่สุดได้แก่ การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากมีพื้นที่ที่ทำการผ่าตัดค่อนข้างจำกัด และมีเส้นประสาท ที่ต้องระวังในการทำผ่าตัด การผ่าตัดโดยใช้ หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotic Surgery) จึง มีความปลอดภัยมากกว่าและทำให้คุณภาพชีวิตหลังผ่าตัดดีกว่า นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการผ่าตัดทางสูตินรีเวช เช่น การผ่าตัดเอามดลูกออก เป็นต้น
+ประโยชน์+
1.ช่วยให้การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง (LaparoscopicSurgery) ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery)มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
2. ช่วยลดการติดเชื้อของแผลผ่าตัด และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ทำให้ กลับไปมีกิจกรรมปกติของชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
3. ช่วย ลดอาการปวดแผลหลังการผ่าตัดได้มากกว่า การผ่าตัดส่องกล้องแบบธรรมดา เนื่องจากลดการดึงรั้ง และการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบท่อนำอุปกรณ์
4. ให้ ความแม่นยำในการผ่าตัดมากขึ้น เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ผ่าตัดสามารถงอ และเคลื่อนไหวข้อได้อย่างอิสระโดยรอบ
5. ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นภาพ ในบริเวณที่ทำการผ่าตัด แบบ 3 มิติ และ ขนาดของภาพขยายได้มากถึง 10 เท่าช่วยให้การผ่าตัดที่ต้องใช้ความละเอียดสูง เช่น การเลาะต่อมน้ำเหลืองและการเลาะเส้นประสาท สามารถทำได้อย่างแม่นยำ
6. ช่วย ลดเวลาในการผ่าตัดลง ด้วยความนิ่ง และความแม่นยำของการบังคับแขนหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
7. การทำงานแบบคอนโซลคู่ (Dual Console) ช่วยให้ แพทย์สามารถใช้กับการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนได้สะดวก และยังช่วยให้สามารถผ่าตัดแบบเปิดแผลเล็กได้ดีมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น