วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Assignment 4

ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

+ระบบสารสนเทศ E-Learning+


       ระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน (BUU LMS : Moodle)  เป็นระบบจัดการการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ ที่อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน โดยมีเครื่องมือที่ช่วยในการจัดแหล่งความรู้ กิจกรรม และสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนผ่านทางเว็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ

+ผู้เกี่ยวข้องกับระบบ+ : อาจารย์ ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ

+ข้อดีของระบบสารสนเทศ E-Learning +
      มีความสะดวกรวดเร็วในการเรียนการสอน เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์จำเป็นหรือติดธุระด่วนไม่สามารถเข้าชั้นเรียนได้ก็สามารถศึกษาข้อมูลย้อนหลังผ่านระบบ E-Learning ได้ เป็นต้น

+ข้อเสียของระบบสารสนเทศ E-Learning+
    ถ้าเกิดผู้ที่ศึกษาไม่เข้าใจในบทเรียนจะไม่สามารถสอบถามผู้สอนได้โดยตรงเหมือนเรียนในห้องเรียน

+ระบบสารสนเทศทางการรายงานตัวนิสิตออนไลน์+
    เป็นระบบที่ช่วยให้นิสิตสามารถรายงานตัวและจองหอพักผ่านทางอินเทอร์เน็ต และชำระเงินผ่านทางธนาคารได้โดยนิสิตและผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องเดินทางมารายงานตัวที่มหาวิทยาลัยอีกทั้งในการทำงานระบบจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนนิสิตการเงินและระบบจัดการหอพัก เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

+ผู้เกี่ยวข้องกับระบบ+ นิสิตนักศึกษา บุคลากร

+ข้อดีของระบบสารสนเทศทางการรายงานตัวนิสิตออนไลน์+
      เพื่อให้สะดวกและรวดเร็วในการดำเนินงาน ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ในทันที

+ข้อเสียของระบบสารสนเทศางการรายงานตัวนิสิตออนไลน์+
      ถ้าหากข้อมูลของนิสิตนักศึกษาเกิดความผิดพลาดอาจจะค่อนข้างใช้เวลาในการแก้ไขข้อมูลนาน

+ระบบสารสนเทศด้านการประเมินการเรียนการสอน+
          มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำข้อมูลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาให้มีสิทธิภาพมากขึ้น  สำหรับแบบสำรวจความคิดเห็นของนิสิตต่อการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 
          ส่วนที่ 1 ความคิดเห็นต่อการเรียนของตนเอง 
          ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นต่อการสอนของอาจารย์ 
          ส่วนที่ 3 ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ 
          ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นต่อการบริการของมหาวิทยาลัย

+ผู้เกี่ยวข้องกับระบบ+  อาจารย์ นิสิตนักศึกษา บุคลากรในด้านต่างๆ

+ข้อดีของระบบสารสนเทศทางด้านการประเมินการเรียนการสอน+
       ระบบที่ง่ายต่อการประเมินด้านการเรียนการสอนของอาจารย์ และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาทางด้านการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดข้อผิดพลาดของการทำงานน้อยลง

+ข้อเสียของระบบสารสนเทศทางด้านการประเมินการเรียนการสอน+
        ถ้าระบบกรอกข้อมูลผิดพลาดอาจจะส่งผลทำให้การทำงานเกิดความล่าช้าและต้องกลับมาแก้งานใหม่ทั้งหมด

 

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Assignment Artificial Intelligence

+Artificial Intelligence+


                 Artificial Intelligence  เป็นทั้งวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมของการสร้างเครื่องจักรกลเพื่อให้มีความฉลาด มีสติปัญญา โดยเฉพาะ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีสติปัญญา ซึ่งมันจะเกี่ยวพันถึงงานที่จะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำความเข้าใจถึงสติปัญญาของมนุษย์ ยกตัวอย่าง เช่น หุ่นยนต์ เครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น 
*ตัวอย่างเช่น* 

หุ่นยนต์ผ่าตัด [ Robotic Surgery ]


        ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง โดย การใช้กล้องส่องขยายภาพผ่าตัด (Laparoscopic Surgery) เป็น การผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery) ซึ่งคนไข้จะได้รับประโยชน์ในการผ่าตัดแบบส่องกล้องอย่างมาก โดยผู้ป่วยจะฟื้นตัวและกลับไปทำงานได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery)และยังเสียเลือดระหว่างผ่าตัดน้อยกว่า แต่ยังมีข้อจำกัดในภาพที่มองเห็นเป็นสองมิติ ขาดความลึก และข้อจำกัดของเครื่องมือที่ใช้ผ่าตัด ไม่สามารถจะหักมุมงอเข้าสู่ที่คับแคบได้ และข้อจำกัดของการหมุนข้อมือของศัลยแพทย์ ผู้ทำการผ่าตัด ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงของอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของการผ่าตัด และการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น คือ การพัฒนาการผ่าตัดแบบใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
         แบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgical Robotics)เครื่องมือชนิดแรกที่ได้พัฒนาออกมาในปี 2532 คือ หุ่นยนต์ ที่ช่วยในการถือแขนกล้อง ในการผ่าตัดแบบส่องกล้อง โดยทำงานคล้ายเป็นแขนที่สามของแพทย์ผ่าตัด ต่อมา ได้มีการพัฒนาแขนหุ่นยนต์เพิ่ม เพื่อใช้ในการช่วยผ่าตัด ในปี 2538 โดยบริษัท Intuitive surgical Inc., ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ก่อตั้งขึ้นโดย กองทุนการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ของ Stanford Research Institute (SRI) International และในเวลาต่อมา ได้ร่วมมือกับสถาบันและบริษัทชั้นนำ อย่าง IBM Corporation, Massachusetts Institute of Technology (MIT), Heartport Inc., Olympus Optical, Ethicon Endo-Surgery (Johnson & Johnson Company) และ Medtronic Inc. พัฒนาตัวหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด da Vinci ขึ้นมาในปี 2540 และต่อมา ในปี 2543 หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด da Vinci ได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ให้เป็น หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดแบบส่องกล้อง ตัวแรก ที่สามารถทำการผ่าตัดได้ในคนจริง ให้ระบบภาพสามมิติ ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ เครื่องมือของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดถูกพัฒนาให้สามารถหักงอข้อมือ และหมุนข้อมือได้อย่างอิสระ ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูง นำไปสู่การผ่าตัดในที่เล็กและแคบได้ดี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมีความง่ายดาย ราวกับการผ่าตัดแบบเปิด ในปัจจุบัน da Vinci Si HD “หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรุ่นล่าสุด” จะให้ภาพความละเอียดสูงสุด และให้กำลังขยายภาพบริเวณที่ทำการผ่าตัดถึง 10 เท่า ทั้งยังสามารถติดตั้งคอนโซลคู่ สำหรับสำหรับศัลยแพทย์สองคนเข้าร่วมผ่าตัด เพื่อใช้ในการช่วยผ่าตัดบังคับแขนหุ่นยนต์ สำหรับการผ่าตัด ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนแบบแผลเล็ก อีกทั้ง ยังสามารถใช้พัฒนาการสอน หรือการฝึกผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดได้อีกด้วย

+องค์ประกอบ+
 ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ... 
          ส่วนที่ 1 : ส่วนควบคุมการผ่าตัด (Surgeon Console)  เป็นเสมือน “สมอง” ของระบบการผ่าตัด โดยศัลยแพทย์จะนั่งหน้าคอนโซล บังคับควบคุมการทำงานของแขนหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับหุ่นยนต์ ที่อยู่ในช่องท้องของคนไข้ และมีช่องมองภาพ ที่เห็นจากการผ่าตัด ซึ่งจะเป็น “ภาพ 3 มิติ” กล่าวคือ สามารถมองเห็นในมิติ “ความลึก” ได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมี กำลังขยายภาพของกล้องส่องผ่าตัดสูงถึง 10 เท่า ทำให้การกะระยะต่างๆ ในระหว่างการผ่าตัดมี ความถูกต้อง และแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ การผ่าตัดที่ต้องการ ความปลอดภัย ทั้งยังช่วยลดการเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทใกล้เคียง หุ่นยนต์ผ่าตัดรุ่นปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีส่วนควบคุม 2ชุด (DualConsole) เพื่อรองรับการทำการผ่าตัดร่วมกันของศัลยแพทย์สองคนรวมถึง ใช้ในการเรียนการสอน ในขณะทำการผ่าตัดจริง และการให้คำแนะนำ ในขณะทำการผ่าตัดด้วย
         ส่วนที่ 2 : ตัวหุ่นยนต์ผ่าตัด (Patient Cart)เป็นเสมือน “แขน” ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ประกอบด้วย แขนหุ่นยนต์ 4 แขน โดยเป็น แขนช่วยจับกล้อง 1 แขน และอีก 3 แขนสำหรับการติดตั้งเครื่องมือ ที่ใช้ร่วมกับแขนหุ่นยนต์ โดนปลายเครื่องมือของแขนหุ่นยนต์จะมีลักษณะคล้ายมือ สามารถทำงานได้เสมือนกับมือของศัลยแพทย์ตามปกติ แต่ได้รับการพัฒนาให้ลดข้อจำกัดของข้อมือมนุษย์ คือ
สามารถหัก−งอข้อมือ / หมุนข้อมือได้อย่างอิสระ และได้โดยรอบ ทำให้เครื่องมือสามารถเข้าไปผ่าตัดในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด หรือช่องผ่าตัดที่เล็กๆ ได้อย่างแม่นยำ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้นส่วนที่ 3 : ระบบควบคุมภาพ (Vision Cart)เป็นเสมือน “ตา” ให้แก่แพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด และพยาบาล เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพการผ่าตัด ภายใต้กล้องในบริเวณที่ทำการผ่าตัดภายในตัวผู้ป่วย
        ส่วนที่ 3 : ระบบควบคุมภาพ (Vision Cart)เป็นเสมือน “ตา” ให้แก่แพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด และพยาบาล เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพการผ่าตัด ภายใต้กล้องในบริเวณที่ทำการผ่าตัดภายในตัวผู้ป่วย
             หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotic Surgery) สามารถทำการผ่าตัดได้หลายประเภท อาทิ การผ่าตัดทางศัลยกรรมทั่วไป เช่น การผ่าตัดถุงน้ำดี,การผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้, การผ่าตัดตับและตับอ่อน รวมทั้งยังสามารถใช้ใน การผ่าตัดทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก,การผ่าตัดทางระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งที่นิยมผ่าตัดด้วยการใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดมากที่สุดได้แก่ การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากมีพื้นที่ที่ทำการผ่าตัดค่อนข้างจำกัด และมีเส้นประสาท ที่ต้องระวังในการทำผ่าตัด การผ่าตัดโดยใช้ หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotic Surgery) จึง มีความปลอดภัยมากกว่าและทำให้คุณภาพชีวิตหลังผ่าตัดดีกว่า นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการผ่าตัดทางสูตินรีเวช เช่น การผ่าตัดเอามดลูกออก เป็นต้น

+ประโยชน์+
      1.ช่วยให้การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง (LaparoscopicSurgery) ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery)มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
       2. ช่วยลดการติดเชื้อของแผลผ่าตัด และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ทำให้ กลับไปมีกิจกรรมปกติของชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
       3. ช่วย ลดอาการปวดแผลหลังการผ่าตัดได้มากกว่า การผ่าตัดส่องกล้องแบบธรรมดา เนื่องจากลดการดึงรั้ง และการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบท่อนำอุปกรณ์
      4. ให้ ความแม่นยำในการผ่าตัดมากขึ้น เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ผ่าตัดสามารถงอ และเคลื่อนไหวข้อได้อย่างอิสระโดยรอบ
     5. ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นภาพ ในบริเวณที่ทำการผ่าตัด แบบ 3 มิติ และ ขนาดของภาพขยายได้มากถึง 10 เท่าช่วยให้การผ่าตัดที่ต้องใช้ความละเอียดสูง เช่น การเลาะต่อมน้ำเหลืองและการเลาะเส้นประสาท สามารถทำได้อย่างแม่นยำ
      6. ช่วย ลดเวลาในการผ่าตัดลง ด้วยความนิ่ง และความแม่นยำของการบังคับแขนหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
    7. การทำงานแบบคอนโซลคู่ (Dual Console) ช่วยให้ แพทย์สามารถใช้กับการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนได้สะดวก และยังช่วยให้สามารถผ่าตัดแบบเปิดแผลเล็กได้ดีมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

Assignment 3




 

+Gant Charts+



 +Pert Charts+



+โครงการนี้ใช้เวลาทั้งหมด ?!
+เส้นทางวิกฤตประกอบด้วย ?!









 +Gant Charts+





 +Pert Charts+




+โครงการนี้ใช้เวลาทั้งหมด ?!
+เส้นทางวิกฤตประกอบด้วย ?!

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหาร

+ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหาร+

       ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Information System) หรือ HRIS หรือระบบสารสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (Personal Information System) หรือ PIS เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนิน ทางการวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ โดยที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลจะมีดังนี้

      1. ข้อมูลบุคลากร เป็นข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนขององค์การ ซึ่งประกอบด้วยประวัติเงินเดือน และสวัสดิการ เป็นต้น
     2. ผังองค์การ แสดงโครงสร้างองค์การ การจัดหน่วยงาน และแผนกำลังคน ซึ่งแสดงทั้งปริมาณและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล
     3. ข้อมูลจากภายนอก ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลมิใช่ระบบปิด ที่ควบคุมและดูแลสมาชิกภายในองค์การเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองซึ่งต้องกา รข้อมูลจากภายนอกองค์การ เช่น การสำรวจเงินเดือน อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น

การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการ ต่อไปนี้

         1. ความสามารถ (Capability) หมายถึง ความพร้อมขององค์การและบุคคลในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยต้องพิจารณาความสามารถของบุคลากร 3 กลุ่ม คือ

1.1 ผู้บริหารระดับสูงต้องพร้อมที่จะสนับสนุนด้านนโยบาย กำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ
1.2 ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ เพื่อให้การทำงานในหน่วย งาน มีความคล่องตัวขึ้น
1.3 ฝ่ายสารสนเทศที่ต้องทำความเข้าใจและออกแบบระบบงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม


         2. การควบคุม (Control) การพัฒนา HRIS จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสารสนเทศ โดยเฉพาะการเข้าถึงและความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคลจะเกี่ยวข้อง กับความเป็นส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะมีผลต่อชื่อเสียง และผลได้-เสียของบุคคลจึงต้อง มีการจัด ระบบการเข้าถึงและการจัดการข้อมูลที่รัดกุม 

         3. ต้นทุน (Cost) ปกติการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลจะมีต้นทุนที่สูง ขณะเดียวกันก็จะไม่เห็นผลตอบแทนที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยน แปลงขององค์การทั้งในด้านการขยายตัวและหดตัว ซึ่งจะมีผลกระทบต่อบุคลากร 

         4. การติดต่อสื่อสาร (Communication) หมายถึง การพัฒนาระบบสารสนเทศต้องศึกษาการไหลเวียนของสารสนเทศ (Information Flow) ภายในองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพ แวดล้อมภายนอก 

        5. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ปัจจุบันการพัฒนา HRIS ไม่เพียงแต่ช่วยให้การ ดำเนินงานขององค์การ มี ประสิทธิภาพขึ้น 
          ปัจจุบันเราต่างยอมรับว่า คนเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ แต่ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรมีค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจต้องรับภาระทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เงินเดือน สวัสดิการ และข้อผูกพันในสัญญาจ้างงาน HRIS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเสนอข้อมูลการตัดสินใจซึ่ง เกิดประโยชน์แก่ทั้ง องค์การและ สมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับงานด้าน ทรัพยากรบุคคลอย่างถูกต้องขึ้น

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

                                   +ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการตัดสินใจ+

ประเภทของการตัดสินใจ
มี 3 ประเภท คือ

                   1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
                   2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
                   3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure)
     1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
     เมื่อมีการกำหนดโปรแกรมการตัดสินใจ องค์กรจะต้องเตรียมกฎเกณฑ์การตัดสินใจไว้ โดยแสดงขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นการตัดสินใจ (flow chart) ตารางการตัดสินใจหรือสูตรต่างๆ ขั้นตอนการตัดสินใจต้องระบุถึงสารสนเทศที่ต้องการ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกฎเกณฑ์การตัดสินใจแบบมีโครงสร้างนั้น จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศอย่างเด่นชัดและมีการนำข้อมูลเข้าที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างแน่นอน มีขั้นตอนการตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจได้ว่าถูกต้อง ทั้งความสมบูรณ์ของ การนำข้อมูลเข้าและการประมวลผล โดยใช้หลักการตัดสินใจทางตรรก (logic) และผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจแบบนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน คือ จะต้องเด่นชัดในแง่ที่ว่า จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรและควรมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้รับสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ จากหลายๆ กรณีที่ไม่อาจจะกำหนดขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ธรรมดาทั่วๆ ไป ให้ได้มากที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป และไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ เราจะใช้คนเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน
     2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
     การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ย่อมไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจไว้ก่อนล่วงหน้า อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การเตรียมขั้นตอน การตัดสินใจหรือความไม่เข้าใจวิธีการประมวลดีพอหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนไม่สามารถจะกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่เป็นถาวรได้ สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจโครงสร้างแบบนี้ ได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และขั้นตอนการตัดสินใจที่จะประยุกต์เพื่อหาคำตอบจากปัญหา ข้อมูลที่ต้องการอาจจะจัดหามาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นการดึงข้อมูลอาจเกิดตามการร้องขอระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างจะใช้วิธีการถาม – ตอบและการวิเคราะห์
     3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure
     เป็นการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหรือคาดการณ์ได้ยากคุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1) จัดเตรียมสารสนเทศซึ่งได้ทำการประมวลผลแล้วจากการประมวลผลข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
2) สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างหรือแบบกึ่งโครงสร้าง
3) สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้
4) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริการระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตามความต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วคุณลักษณะของระบบเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้บริหารระดับสูง

5) ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบที่ทำหน้าที่เสมือนผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากบางครั้งต้องตัดสินปัญหาที่มีความซับซ้อนเกินกว่าจะตัดสินใจตามลำพังได้ ดังนั้นผู้ให้บริการอาจใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษา ค้นหาช่องทาง และโอกาส เพื่อจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่

ระบบสารสนเทศทางการเงิน

+ระบบสารสนเทศทางการเงิน+

       ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานของนักบริหารธุรกิจในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน  รวมทั้งการจัดสรรและควบคุมทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ
+การจัดการทางการเงิน+
        การเงิน คือ หน้าที่งานหนึ่งของธุรกิจซึ่งมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านอื่นๆเป็นไปอย่างราบรื่น
        การจัดการทางการเงิน หมายถึง กระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการตัดสินใจทางการเงินเพื่อสร้างความมั่นคั่งสูงสุดให้แก่ธุรกิจและผู้ถือหุ้น
+ขอบเขตงานทางการเงิน+
             1. ตลาดการเงิน จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินหรือแหล่งจัดหาเงินทุนอื่นๆ ได้แก่ หลักทรัพย์และตราสารทางการเงินของธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยจำแนกเป็น
  1.1ตลาดเงิน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารทางการเงินที่อายุไม่เกิน 1 ปี
  1.2 ตลาดทุน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารทางการเงินที่มีอายุมากกว่า 1 ปี โดยจำแนกเป็น
    ตลาดแรก คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์แก่ผู้ซื้อในครั้งแรก
    ตลาดรอง คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์จากผู้ซื้อครั้งแรกสู่ผู้ซื้อครั้งต่อๆไป
             2. การลงทุน เป็นการตัดสินใจลงทุนโดยคำนึงถึงการใช้เงินทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดขององค์การ   ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ  การขาย หรือการถือครองสินทรัพย์
             3. การเงินทางธุรกิจ เป็นการจัดการทางการเงินภายในองค์การ  เช่น การให้สินเชื่อทางการค้า การจัดการเงินสด การจัดหาเงินทุน รวมทั้งการจัดโครงสร้างทางการเงิน

+หน้าที่ทางการเงิน+
         ธุรกิจจะต้องตัดสินใจทางการเงินร่วมกับฝ่ายงานต่างๆเพื่อที่จะตอบสนองภารกิจสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
          1. อนาคต และดำเนินการวางแผนทางการเงินตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
          2. การจัดหาเงินทุน คือ หน้าที่ด้านการจัดหาเงินทุน เพื่อรองรับการลงทุนตามความต้องการเงินทุนและแผนที่ได้กำหนดไว้ โดยคัดเลือกแหล่งเงินทุน  ซึ่งมีต้นทุนเงินทุนต่ำที่สุดจะถือเป็นแหล่งเงินทุนที่ดีที่สุด
          3. การจัดการลงทุน คือ หน้าที่ในการจัดสรรเงินทุนเพื่อรองรับความเจริญเติบโตของธุรกิจ
          4. การจัดการเงินทุน สำหรับเงินทุนที่จัดหามา แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรให้ลงทุนในสินทรัพย์ใดๆจะต้องมีการจัดการเงินทุน  ประเภทของการบริหารเงินทุนมี 3 ประเภท คือ การจัดการสภาพคล่อง การจัดการเติบโต  การจัดการความเสี่ยง

+เป้าหมายทางการเงิน+
             1. กำไรสูงสุด เน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาการวัดผลกำไรของบริษัทแต่อย่างใด ซึ่งต้องมีการตั้งเป้าหมายที่แน่นอนและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
             2. การดำเนินงานทางธุรกิจ โดยมุ่งเน้นถึงมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น  รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย

+การตัดสินใจทางการเงิน+
             1. การตัดสินใจด้านการลงทุน เป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่สุด โดยเริ่มต้นจาการกำหนดทรัพย์สินที่บริษัทจำเป็นต้องใช้ และจำนวนเงินลงทุนในทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งจะบ่งบอกถึงขนาดของบริษัท
             2. การตัดสินใจด้านการจัดหาเงินทุน  จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
                    2.1 ส่วนผสมของเงินทุนที่จำเป็นต้องมีการจัดหาไว้ภายในกิจการ
                    2.2 แหล่งเงินทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
                    2.3 สัดส่วนระหว่างหนี้สินและทุนที่เหมาะสม
                    2.4 ประเภทของการจัดหาเงินทุน 2 ประเภท คือ   การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน    หรือการออกหลักทรัพย์ประเภททุนเพื่อจำหน่าย
            3. การตัดสินใจด้านนโยบายเงินปันผล เป็นการตัดสินใจถึงจำนวนเงินที่จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท  โดยมีการกำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลขึ้นที่สามารถใช้เป็นตัวกำหนดกำไรสะสมที่บริษัทยังคงอยู่หลังจากจ่ายเงินปันผลเสร็จสิ้นแล้ว

           สารสนเทศทางการเงิน  หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการเงิน  ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ
           สารสนเทศทางการเงิน    สามารถจำแนกได้เป็น  ประเภท
 1. สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ  คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการรับและจ่ายเงินสด และการจัดหาและการจัดหาเงินทุน ตลอดจนการจัดหาเงินทุนในสินทรัพย์ ดังนี้ สารสนเทศด้านกระแสเงินสด สารสนเทศด้านเงินทุน สารสนเทศด้านการลงทุน
  2. สารสนทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารและจัดการทางการเงิน ดังนี้ สารสนเทศด้านพยากรณ์ทางการเงิน สารสนเทศด้านงบประมาณเงินสด  สารสนเทศด้านงบประมาณลงทุน  สารสนเทศด้านการวิเคราะห์ทางการเงิน สารสนเทศด้านควบคุมทางการเงิน
  3. สารสนเทศภายนอกองค์การ  คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารสนเทศจากตลาดการเงิน   สารสนเทศด้านนโยบายของรัฐ

+เทคโนโลยีทางการเงิน+
1. โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ในบางครั้งอาจรวมอยู่กับโปรแกรมระบบอื่น
2. ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซ  ตัวอย่างระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซมีดังนี้
              2.1 ระบบการแลกเปลี่ยนหุ้นส่วนกลาง
              2.2 ระบบจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศ
              2.3 ระบบหุ้นกู้อิเล็กทรอนิกส์
              2.4 ระบบนำเสนอเช็คคืนอิเล็กทรอนิกส์
              2.5 ระบบนำเสนอใบเรียกเก็บเงินและการชำระตามใบเรียกเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์
3. เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้
              3.1 บัตรเครดิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งสำหรับรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้ใช้จะต้องจัดทำบัตรเครดิตกับองค์การหรือสถาบันทางการเงินภายในวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ
             3.2 บัตรเดบิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งระบบจะยินยอมให้ร้านค้าโอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อเข้าสู่บัญชีผู้ขายทันทีที่เกิดรายการค้าขึ้น
             3.3 ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์ คือ บริการของธนาคารประเภทหนึ่งที่เริ่มจากให้ผู้ขายเช่าตู้ไปรษณีย์ อีกทั้งมอบอำนาจให้แก่ธนาคารเป็นผู้เปิดตู้ไปรษณีย์และนำเช็คไปเข้าบัญชีของผู้ขาย
            3.4 เช็คที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้า เป็นระบบที่อาจนำมาใช้แทนที่ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งระยะเวลาเรียกเก็บเงินที่รวดเร็วขึ้นเนื่องจากสามารถแปลสภาพเช็คเป็นเงินสดได้ในทันทีที่เช็คครบตามกำหนดจ่ายเงิน และไม่จำเป็นต้องมีการลงนามผู้สั่งจ่ายเงินเหมือนเช็คทั่วไป
           3.5 เช็คอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอีกบริการหนึ่งของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่จะทำการใส่วงเงินเข้าสู่กระเป๋าสตังค์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้า
          3.6 การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นวิธีให้บริการโอนเงินแบบดั้งเดิมของธนาคารผ่านสำนักหักบัญชีอัตโนมัติ หรือการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร  โดยธนาคารของผู้ซื้อจะทำการโอนเงินเข้าสู่บัญชีผู้ขายผ่านธนาคารของผู้ขายอัตโนมัติ
         3.7 ระบบธนาคารศูนย์กลาง   มักใช้สำหรับธุรกิจที่มีสำนักงานขายกระจายอยู่ลายแห่งทั่วประเทศ และยังมีการจัดตั้งสำนักงานที่เป็นศูนย์เก็บเงินประจำภูมิภาคเพื่อรับชำระเงินจากลูกค้าในพื้นที่ใกล้เคียงและสามารถนำเช็คไปขึ้นเงินกับสาขาของธนาคารในท้องถิ่นนั้นๆ
4. การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
         4.1 ระบบการเข้าถึงรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจ
         4.2 ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมแผ่นตารางทำการ หรือ โปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจที่เน้นการตัดสินใจทางการเงินโดยเฉพาะ
        4.3 ระบบบริหารโซ่คุณค่าทางการเงิน  คือ พื้นทีอีกด้านนึ่งของการวิเคราะห์ทางการเงิน ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปฏิบัติการโดยมีการวิเคราะห์ในทุกๆหน้าที่งานด้านการเงินรวมทั้งหน้าที่ด้านการค้าเงินระหว่างประเทศ

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

+ระบบสารสนเทศทางการบัญชี+

+ระบบสารสนเทศทางการบัญชี+
ความหมาย
 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ ระบบการทำงานระบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และนโยบายของบริษัท เน้นถึงการใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักดังนี้
           1. การเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของธุรกิจ
           2.  การประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ การวางแผน การสั่งการ และการควบคุม
           3. การจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้
สามารถจัดแบ่งประเภทของผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีได้2 ประเภท
ประเภทที่ 1 ผู้ใช้ภายในธุรกิจประกอบด้วยบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายต่างๆ
ประเภทที่ 2 ผู้ใช้ภายนอกธุรกิจหรือผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจ
การบัญชี
1. ความหมาย
          การบัญชี คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้มือจัดทำบัญชีก็ได้ มี 4ขั้นตอนดังนี้
          ขั้นตอนที่ 1 การจดบันทึก คือ การลงบันทึกความจำซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นของแต่ละวัน
          ขั้นตอนที่ 2 การจำแนก คือ การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้ในสมุดรายวันในจำแนกหมวดหมู่หรือแยกประเภทบัญชีในสมุดขั้นปลาย
          ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผล คือ การนำข้อมูลที่ผ่านการจำแนกประเภทมาสรุปผลเป็นรายงานทางการเงินหรืองบการเงินภายในงวดเวลาบัญชีหนึ่ง
          ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์และแปลความหมาย คือ การนำข้อมูลซึ่งสรุปผลในรายงานทางการเงินมาทำการวิเคราะห์ในรูปของร้อยละ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาแปลความหมายและนำเสนอผลการวิเคราะห์แก่บุคคลที่ เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ
2. การจำแนกประเภท
          สามารถจำแนกประเภทการบัญชีได้เป็น 2 หมวดคือ
          2.1 การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีที่อยู่ภายใต้วัฎจักรการบัญชี มีการสร้างระบบประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีขั้นพื้นฐานของธุรกิจเริ่มตั้งแต่ การจัดเก็บรวบรวมเอกสารขั้นต้นซึ่งบรรจุรายการเปลี่ยนแปลงทางการค้า ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาบันทึกรายการในสมุดขั้นต้นหรือสมุดรายวันและผ่าน รายการบัญชีไปยังสมุดแยกประเภท จากนั้นจึงทำการสรุปยอดคงเหลือในงบทดลองก่อนปรับปรุงรายการเมื่อสิ้นงวดเวลา บัญชีก็จะดำเนินการปรับปรุงรายการบัญชีบางประเภท หลังจากนั้นจึงจัดทำงบกำไรขาดทุนพร้อมทั้งดำเนินการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้า บัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของและทำการปรับงบทดลองหลังปิดบัญชี
2.2 การบัญชีบริหาร คือ การนำข้อมูลบัญชีการเงินมาทำการจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อให้ได้รายงานตาม ความต้องการของผู้ใช้ กำหนดรูปแบบของรายงานไม่มีความชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้รายงาน หรือผู้บริหารระดับต่างๆ ขององค์การโดยส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของรายงานผลการดำเนินงาน
3. หลักการบัญชี คือ มีการนำเสนอสารสนเทศทางการที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้และเป็นที่ยอม รับอย่างกว้างขวางของผู้ใช้งบการเงิน ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต้องคำนึงถึงการเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่เหมาะสมและ มีความสอดคล้องกับผลักบัญชีที่รับรองทั่วไป สามารถสรุปสาระสำคัญของหลักการบัญชีได้ดังนี้
          3.1 หลักการดำรงอยู่ของกิจการ
          3.2  หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ
          3.3 หลักงวดเวลาบัญชี
          3.4 หลักการจำแนกประเภทบัญชี จำแนกออกเป็น 5 หมวดดังนี้
                          3.4.1 สินทรัพย์ หมายถึงทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของธุรกิจและสามารถนำไปใช้ในอนาคตสินทรัพย์บางชนิดอาจเกิดจากการแลกเปลี่ยนทรัพยากร
                          3.4.2 หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกในปัจจุบันที่ส่งผลมาจากการกู้ยืมเงินในอดีต มีสัญญาว่าจะมีการชำระหนี้สินหรือภาระผูกพันนั้นในอนาคต
                          3.4.3 ส่วน ของเจ้าของ หมายถึง จำนวนเงินลงทุนในธุรกิจอีกนัยหนึ่งคือ ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังจากที่มีการหักหนี้สินออก แล้ว
                          3.4.4 รายได้ หมายถึง ราคาสินค้าหรือบริการที่ขายได้ในระหว่างงวดเวลาบัญชี รวมถึงรายได้กำไรที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ อาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
                          3.4.5 ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนของทรัพยากรที่ใช้ไปในการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างเวลางวดเวลาบัญชี รวมถึงรายการขาดทุนที่แสดงถึงการลดลงของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอาจจะเกิดจาก กิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
3.5 หลักการบัญชีคู่ คือ การบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงสองครั้งหรือการอ้างอิงถึงตัวเลขทางการเงินของ รายการค้าถึงสองครั้งโดยครอบคลุมไปถึง การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันและสมุดแยกประเภทคือ
3.5.1 ด้านเดบิต
3.5.2 ด้านเครดิต
          3.6 หลักการใช้หน่วยเงินตรา หน่วยเงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการและยังใช้ เป็นหน่วยวัดราคาอีกด้วย ดังนั้น หน่วยเงินตราจะแสดงถึงตัวเลขที่เป็นตัวเลขเพื่อใช้วัดผลการดำเนินงานและการ เปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของธุรกิจในประเทศไทยจะใช้หน่วยเงินบาทและสตางค์
          3.7 หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม คือ เอกสารขั้นต้นเช่น ใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานก่อนการบันทึกรายการบัญชีที่เกิดขึ้นจริง
          3.8 หลักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือ
                          3.8.1 เกณฑ์เงินสด รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีการรับเงินสดเข้ากิจกาหรือจ่ายเงินสดออกจากกิจการ
                          3.8.2 เกณฑ์คงค้าง  ราย ได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้นแม้ว่าจะไม่ มีการรับหรือจ่ายเงินสดก็ตามสามารถยกตัวอย่างเพื่ออธิบายดังนี้
                          1.การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะรับรู้รายได้เป็นงวดบัญชีที่มีการขายเกิดขึ้นจริงเท่านั้น
                          2. การจ่ายชำระค่าไฟฟ้าของเดือนมีนาคมแต่จ่ายชำระจริงในเดือนเมษายนก็จะต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายในเดือนมีนาคม
          3.9 หลัก การจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย การนำรายได้ที่เกิดขึ้นของงวดเวลาบัญชีนั้นทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายที่ก่อ ให้เกิดรายได้นั้นจึงจะได้ตัวเลขกำไรขาดทุนที่แท้จริง
          3.10 หลักการด้อยค่าของสินทรัพย์  มีการประมาณอายุใช้งานของสินทรัพย์ตลอดจนมีการตัดจ่ายต้นทุนของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งปรากฏในกำไรขาดทุน
สารสนเทศทางการบัญชี
1.แนวคิด
          สารสนเทศ ทางการบัญชี คือ สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ งบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากร และในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆรายงานงบประมาณ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ออกจากระบบสารสนเทศทางการบัญชีและใช้เป็นหลักฐานทางการ เงิน ดังนี้
            1. ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรที่แท้จริงขององค์การ
            2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
            3. ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
            4. ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
            5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
             ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้
2. การจำแนกประเภท แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
          2.1 เอกสารทางการบัญชี คือ หลักฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้บันทึกรายการบัญชีมีจุดเริ่มต้น ตั้งแต่เอกสารที่ระบุแหล่งข้อมูลเบื้องต้นจนกระทั่งเอกสารที่ใช้บันทึก ข้อมูลก่อนที่จะออกงบการเงินจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้
                          2.1.1 เอกสารขั้นต้น เอกสารใช้สำหรับการลงบัญชีและการบันทึกรายการเริ่มตั้งแต่การเกิดรายการค้า
                          2.1.2 สมุดรายวัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมุดบัญชี คือ เอกสารที่นำมาใช้สำหรับการบันทึกบัญชีในระบบมือ
                          2.1.3 บัญชีแยกประเภท เอกสารที่ได้จากการผ่านรายการบัญชีจากสมุดรายวันโดยมีการจำแนกหมวดหมู่บัญชีที่เกี่ยวข้อง
                          2.1.4 งบทดลอง เอกสารที่แสดงยอดคงเหลือในบัญชีทุกบัญชีของบัญชีแยกประเภท
          2.2 รายงานทางการเงิน คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีการเงิน หรือระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
                          2.2.1 งบการเงิน รายงานที่แสดงผลการดำเนินฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการแบ่งได้ดังนี้
                          1. งบดุล แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ
                          2. งบกำไรขาดทุน แสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจ
                          3. งบกระแสเงินสด งบแสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด
                          4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
                          5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดจากรายการและตัวเลขที่แสดงในงบการเงินประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
                          1. เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน
                          2. นโยบายการบัญชีที่ธุรกิจเลือกใช้ของแต่ละหัวข้อบัญชี
                          3. ข้อมูลส่วนอื่น
2.2.2 รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 3 รูปแบบดังนี้
                          1.รายงานภาษีขายเป็นรายงานที่กำหนดให้ธุรกิจบันทึกภาษีขายที่ธุรกิจพึงเรียกเก็บจากลูกค้า
                          2. รายงานภาษีซื้อ รายงานที่ธุรกิจบันทึกภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บจากธุรกิจผู้จำหน่ายสินค้า
                          3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ แสดงสินค้าที่ได้มาและจำหน่ายไป
          2.3 รายงานทางการบริหาร คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการนำสารสนเทศที่ไดจากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์ ทางการเงินเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ตัดสินใจทางการดำเนินงานและการ บริหารภายในองค์การ การกำหนดรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริหารระดับต่างๆสามารถยก ตัวอย่างได้ดังนี้
          2.3.1 รายงานด้านงบประมาณ
          2.3.2 รายงานด้านการบัญชีต้นทุน
          2.3.3 รายงานวิเคราะห์งบการเงิน
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
      1. Hall ระบุถึง การรวมตัวของระบบย่อยของระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3 ระบบดังนี้
            2. ระบบประมวลผลธุรกรรม คือ ระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจประจำวัน
            3. ระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานทางการเงิน
             ระบบรายงานทางการบริหาร คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานที่ใช้ภายในองค์การ
ระบบ ประมวลผลธุรกรรมจะมีการจำแนกธุรกรรมที่เป็นตัวเงินขั้นพื้นฐานทางการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการเงิน ผ่านรายการเข้าสู่ระบบบัญชีแยกประเภททำการปรับยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยว ข้องเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผลเพื่อออกรายงานทางการเงินเมื่อสิ้น งวดวันออกบัญชี การประมวลสารสนเทศทางการบัญชีที่เป็นผลลัพธ์จากบัญชีแยกประเภทเพื่อตอบสนอง ความต้องการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร สามารถแยกได้ 5 ระบบดังนี้
      1. ระบบประมวลผลธุรกรรม มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและเกิดขึ้นซ้ำๆ ในแต่ละวันทำการ การเกิดขึ้นซ้ำของธุรกรรมนี้เรียกว่า วัฏจักรรายการค้า
          พลพธู ปิยวรรณ และสุภาพรรณ เชิงเอี่ยม จำแนกวัฏจักรรายการค้าเป็น4 ประเภทคือ
1.1 วัฏจักรรายจ่าย ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
              1. การสั่งซื้อละรับสินค้า
              2. การควบคุมเจ้าหนี้และเงินสดจ่าย
              3. การซื้อสินทรัพย์ถาวร
              4. การจ่ายเงินเดือนพนักงาน
1.2 วัฏจักรรายได้ ที่ก่อให้เกิดรายรับเข้าธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
              1. การขายและจัดส่งสินค้า
              2. การแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน
              3. การควบคุมลูกหนี้และรับชำระเงิน
1.3 วัฏจักร การแปลงสภาพ ที่ก่อให้เกิดการแปลงสภาพทรัพยากรวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงาน ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปตามคำสั่งผลิตของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจ ดังนี้
             1. การควบคุมวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ
             2. การผลิต
             3. การคำนวณต้นทุนการผลิต
1.4 วัฏจักรการบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสินทรัพย์ของธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
            1. การควบคุมเงินสด
            2. การควบคุมสินทรัพย์
2. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจ
          ลำดับ แรกของการเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจภายใต้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นต้อง จัดเตรียมผังบัญชีที่แสดงการจัดหมวดหมู่บัญชีภายใต้การดำเนินงานของธุรกิจ อย่างเป็นระเบียบกระบวนการของระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจอธิบายได้โดยใช้ แผนภาพกระแสข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่นๆโดยการรับเข้าธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจาก ระบบสารสนเทศอื่น เพื่อมาประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ สารสนเทศทางการบัญชีอธิบายได้ดังนี้
          1.ระบบสารสนเทศทางการผลิตจะส่งธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อวัตถุดิบและการผลิตสินค้าเข้าสู่ระบบ
          2. ระบบสารสนเทศทางการตลาดจะส่งธุรกรรมการขายสินค้าเข้าสู่ระบบ
          3. ระบบสารสนเทศทางการเงินจะส่งธุรกรรมการรับและจ่ายเงินสดเข้าสู่ระบบ
          4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะส่งธุรกรรมการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่ระบบ
          5. ผู้จัดการงานจะส่งรายการปรับปรุงบัญชีและงบประมาณเข้าสู่ระบบ
          6. ผู้ใช้รายงานจะรับรายงานทางการเงินและการบริหารที่ออกจากระบบ
3.ระบบบัญชีแยกประเภท
          3.1 การบันทึกรายการปรับปรุงเป็นขั้นตอนการนำเข้ารายการปรับปรุงบัญชี อาจจะเป็นการปรับปรุงข้อผิดพลาดที่พบในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบสารสนเทศ อื่น
          3.2 การผ่านรายการบัญชี เป็นขั้นตอนของการโอนรายการจากบัญชีสมุดรายวันทั่วไปเข้าสู่แยกประเภท
3.3 การ ปรับปรุงยอดคงเหลือหลังจากที่ระบบมีการผ่านข้อมูลบัญชีเรียบร้อย ระบบจะทำการปรับปรุงยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยวข้องแต่ละบัญชีภายในแฟ้มงบ ทดลองให้เป็นปัจจุบัน
3.4 การออกรายงานการผ่านบัญชีเป็นขั้นตอนการออกรายงานที่ได้จากการผ่านรายการบัญชี
4. ระบบออกรายงานทางการเงิน
          4.1 การประมวลผลรายงาน
          4.2 การพิมพ์รายงานเป็นขั้นตอนหลังจากการประมวลผลรายงานเรียบร้อยแล้ว
          4.3 การปิดบัญชีเป็นขั้นตอนหลังออกรายงานทางการเงินเรียบร้อยแล้ว
5. ระบบออกรายงานทางการบริหาร
          5.1 การจัดเตรียมรูปแบบรายงาน
          5.2 การประมวลผลรายงาน
          5.3 การพิมพ์รายงาน
เทคโนโลยีทางการบัญชี
       1.โปรแกรม สำเร็จรูปทางการบัญชี คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟแวร์ถูกพัฒนาขึ้นใช้ เฉพาะกับงานด้านการบัญชีและจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล (ดีบีเอ็มเอส) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลทางการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ สามารถออกรายงานทางการเงินและการบริหารได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้จะต้องเน้นการควบคุมทางการบัญชีในส่วนการควบคุมเฉพาะระบบ ทั้งในด้านการควบคุมด้านการเข้าถึง การรับเข้า การประมวลผล และการส่งออกข้อมูล
          โปรแกรม สำเร็จรูปทางการบัญชี คือ โปรแกรมที่เน้นการบันทึก การประมวลผลและการนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมโดยมีการบันทึกข้อมูล รายวัน การผ่านบัญชีไปสมุดแยกประเภท การรายงานสรุปผลในงบการเงินต่างๆผลลัพธ์ของโปรแกรมอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือรายงานต่างๆมีคุณสมบัติ ดังนี้
              1. มีองค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมครบถ้วน
              2. มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านการกำหนดขนาดแฟ้มข้อมูล
              3. ความสามารถของโปรแกรมในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถในการทำงานสูง
             4. มีความสามารถใช้การเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบลูกข่าย แม่ข่าย
             5. เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง
             6. มีระบบการกำหนดรหัสผ่านหลายระดับ
             7. มีการสร้างแฟ้มหลักรวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มหลัก
             8. มีระบบการรับเข้าข้อมูลและตรวจทานการรับเข้าข้อมูล
             9. การป้อนข้อมูลทางหน้าจออยู่ในลักษณะของการรับข้อมูลไดมากกว่าหนึ่งรายการ
           10. มีระบบป้องกันการผ่านบัญชีที่ผิดพลาด
           11. มีความยืดหยุ่นของการปิดงวดบัญชี
           12. มีโปรแกรมพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารหรือรายงาน
           13. การโอนย้ายข้อมูลภายในระบบสร้างความคล่องตัวให้กับผู้ใช้ข้อมูล
          2. การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ต
          งบ การเงิน คือ รายงานทางการเงินที่นำเสนอต่อผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ตเป็นวิถีทางหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงงบการ เงินได้กว้างไกลทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
          คณะ กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไดพัฒนาฐานข้อมูลเอดการ์ขึ้น เพื่อใช้เก็บรวบรวมรายงานขึ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ ประเทศสหรัฐอเมริกาในรูปแบบที่เป็นข้อความแต่ไม่สามารถนำรายงานทางการเงิน ของแต่ละบริษัทมาเปรียบเทียบกันได้เนื่องจากโครงสร้างงบการเงินต่างกันและ ถูกพัฒนาด้วยชุดคำสั่งที่ต่างกัน
3. โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบลูกข่าย แม่ข่าย โดยทำการเชื่อมต่อกระบวนการทางธุรกิจภายในองค์การ ในส่วนการประมวลผลธุรกรรมของระบบสารสนเทศทางธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยมี การใช้ฐานข้อมูลรวมขององค์การเพียงข้อมูลเดียวและมีการนำเข้าข้อมูลเพียง ครั้งเดียวผู้ใช้ในหน่วยงานต่างๆ
          ความ สามารถของโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การยุคปัจจุบัน นอกจากการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การด้วยฐานข้อมูลเดียวกัน ขยายขอบเขตไปถึงการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การเข้าด้วยกันหรืออีก นัยหนึ่งคือ การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การเข้ากับการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายใน องค์การคู่ค้า