วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหาร

+ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหาร+

       ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Information System) หรือ HRIS หรือระบบสารสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (Personal Information System) หรือ PIS เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนิน ทางการวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ โดยที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลจะมีดังนี้

      1. ข้อมูลบุคลากร เป็นข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนขององค์การ ซึ่งประกอบด้วยประวัติเงินเดือน และสวัสดิการ เป็นต้น
     2. ผังองค์การ แสดงโครงสร้างองค์การ การจัดหน่วยงาน และแผนกำลังคน ซึ่งแสดงทั้งปริมาณและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล
     3. ข้อมูลจากภายนอก ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลมิใช่ระบบปิด ที่ควบคุมและดูแลสมาชิกภายในองค์การเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองซึ่งต้องกา รข้อมูลจากภายนอกองค์การ เช่น การสำรวจเงินเดือน อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น

การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการ ต่อไปนี้

         1. ความสามารถ (Capability) หมายถึง ความพร้อมขององค์การและบุคคลในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยต้องพิจารณาความสามารถของบุคลากร 3 กลุ่ม คือ

1.1 ผู้บริหารระดับสูงต้องพร้อมที่จะสนับสนุนด้านนโยบาย กำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ
1.2 ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ เพื่อให้การทำงานในหน่วย งาน มีความคล่องตัวขึ้น
1.3 ฝ่ายสารสนเทศที่ต้องทำความเข้าใจและออกแบบระบบงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม


         2. การควบคุม (Control) การพัฒนา HRIS จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสารสนเทศ โดยเฉพาะการเข้าถึงและความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคลจะเกี่ยวข้อง กับความเป็นส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะมีผลต่อชื่อเสียง และผลได้-เสียของบุคคลจึงต้อง มีการจัด ระบบการเข้าถึงและการจัดการข้อมูลที่รัดกุม 

         3. ต้นทุน (Cost) ปกติการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลจะมีต้นทุนที่สูง ขณะเดียวกันก็จะไม่เห็นผลตอบแทนที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยน แปลงขององค์การทั้งในด้านการขยายตัวและหดตัว ซึ่งจะมีผลกระทบต่อบุคลากร 

         4. การติดต่อสื่อสาร (Communication) หมายถึง การพัฒนาระบบสารสนเทศต้องศึกษาการไหลเวียนของสารสนเทศ (Information Flow) ภายในองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพ แวดล้อมภายนอก 

        5. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ปัจจุบันการพัฒนา HRIS ไม่เพียงแต่ช่วยให้การ ดำเนินงานขององค์การ มี ประสิทธิภาพขึ้น 
          ปัจจุบันเราต่างยอมรับว่า คนเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ แต่ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรมีค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจต้องรับภาระทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เงินเดือน สวัสดิการ และข้อผูกพันในสัญญาจ้างงาน HRIS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเสนอข้อมูลการตัดสินใจซึ่ง เกิดประโยชน์แก่ทั้ง องค์การและ สมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับงานด้าน ทรัพยากรบุคคลอย่างถูกต้องขึ้น

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

                                   +ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการตัดสินใจ+

ประเภทของการตัดสินใจ
มี 3 ประเภท คือ

                   1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
                   2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
                   3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure)
     1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
     เมื่อมีการกำหนดโปรแกรมการตัดสินใจ องค์กรจะต้องเตรียมกฎเกณฑ์การตัดสินใจไว้ โดยแสดงขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นการตัดสินใจ (flow chart) ตารางการตัดสินใจหรือสูตรต่างๆ ขั้นตอนการตัดสินใจต้องระบุถึงสารสนเทศที่ต้องการ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกฎเกณฑ์การตัดสินใจแบบมีโครงสร้างนั้น จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศอย่างเด่นชัดและมีการนำข้อมูลเข้าที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างแน่นอน มีขั้นตอนการตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจได้ว่าถูกต้อง ทั้งความสมบูรณ์ของ การนำข้อมูลเข้าและการประมวลผล โดยใช้หลักการตัดสินใจทางตรรก (logic) และผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจแบบนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน คือ จะต้องเด่นชัดในแง่ที่ว่า จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรและควรมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้รับสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ จากหลายๆ กรณีที่ไม่อาจจะกำหนดขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ธรรมดาทั่วๆ ไป ให้ได้มากที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป และไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ เราจะใช้คนเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน
     2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
     การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ย่อมไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจไว้ก่อนล่วงหน้า อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การเตรียมขั้นตอน การตัดสินใจหรือความไม่เข้าใจวิธีการประมวลดีพอหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนไม่สามารถจะกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่เป็นถาวรได้ สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจโครงสร้างแบบนี้ ได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และขั้นตอนการตัดสินใจที่จะประยุกต์เพื่อหาคำตอบจากปัญหา ข้อมูลที่ต้องการอาจจะจัดหามาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นการดึงข้อมูลอาจเกิดตามการร้องขอระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างจะใช้วิธีการถาม – ตอบและการวิเคราะห์
     3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure
     เป็นการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหรือคาดการณ์ได้ยากคุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1) จัดเตรียมสารสนเทศซึ่งได้ทำการประมวลผลแล้วจากการประมวลผลข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
2) สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างหรือแบบกึ่งโครงสร้าง
3) สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้
4) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริการระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตามความต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วคุณลักษณะของระบบเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้บริหารระดับสูง

5) ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบที่ทำหน้าที่เสมือนผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากบางครั้งต้องตัดสินปัญหาที่มีความซับซ้อนเกินกว่าจะตัดสินใจตามลำพังได้ ดังนั้นผู้ให้บริการอาจใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษา ค้นหาช่องทาง และโอกาส เพื่อจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่

ระบบสารสนเทศทางการเงิน

+ระบบสารสนเทศทางการเงิน+

       ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานของนักบริหารธุรกิจในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน  รวมทั้งการจัดสรรและควบคุมทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ
+การจัดการทางการเงิน+
        การเงิน คือ หน้าที่งานหนึ่งของธุรกิจซึ่งมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านอื่นๆเป็นไปอย่างราบรื่น
        การจัดการทางการเงิน หมายถึง กระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการตัดสินใจทางการเงินเพื่อสร้างความมั่นคั่งสูงสุดให้แก่ธุรกิจและผู้ถือหุ้น
+ขอบเขตงานทางการเงิน+
             1. ตลาดการเงิน จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินหรือแหล่งจัดหาเงินทุนอื่นๆ ได้แก่ หลักทรัพย์และตราสารทางการเงินของธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยจำแนกเป็น
  1.1ตลาดเงิน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารทางการเงินที่อายุไม่เกิน 1 ปี
  1.2 ตลาดทุน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารทางการเงินที่มีอายุมากกว่า 1 ปี โดยจำแนกเป็น
    ตลาดแรก คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์แก่ผู้ซื้อในครั้งแรก
    ตลาดรอง คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์จากผู้ซื้อครั้งแรกสู่ผู้ซื้อครั้งต่อๆไป
             2. การลงทุน เป็นการตัดสินใจลงทุนโดยคำนึงถึงการใช้เงินทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดขององค์การ   ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ  การขาย หรือการถือครองสินทรัพย์
             3. การเงินทางธุรกิจ เป็นการจัดการทางการเงินภายในองค์การ  เช่น การให้สินเชื่อทางการค้า การจัดการเงินสด การจัดหาเงินทุน รวมทั้งการจัดโครงสร้างทางการเงิน

+หน้าที่ทางการเงิน+
         ธุรกิจจะต้องตัดสินใจทางการเงินร่วมกับฝ่ายงานต่างๆเพื่อที่จะตอบสนองภารกิจสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
          1. อนาคต และดำเนินการวางแผนทางการเงินตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
          2. การจัดหาเงินทุน คือ หน้าที่ด้านการจัดหาเงินทุน เพื่อรองรับการลงทุนตามความต้องการเงินทุนและแผนที่ได้กำหนดไว้ โดยคัดเลือกแหล่งเงินทุน  ซึ่งมีต้นทุนเงินทุนต่ำที่สุดจะถือเป็นแหล่งเงินทุนที่ดีที่สุด
          3. การจัดการลงทุน คือ หน้าที่ในการจัดสรรเงินทุนเพื่อรองรับความเจริญเติบโตของธุรกิจ
          4. การจัดการเงินทุน สำหรับเงินทุนที่จัดหามา แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรให้ลงทุนในสินทรัพย์ใดๆจะต้องมีการจัดการเงินทุน  ประเภทของการบริหารเงินทุนมี 3 ประเภท คือ การจัดการสภาพคล่อง การจัดการเติบโต  การจัดการความเสี่ยง

+เป้าหมายทางการเงิน+
             1. กำไรสูงสุด เน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาการวัดผลกำไรของบริษัทแต่อย่างใด ซึ่งต้องมีการตั้งเป้าหมายที่แน่นอนและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
             2. การดำเนินงานทางธุรกิจ โดยมุ่งเน้นถึงมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น  รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย

+การตัดสินใจทางการเงิน+
             1. การตัดสินใจด้านการลงทุน เป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่สุด โดยเริ่มต้นจาการกำหนดทรัพย์สินที่บริษัทจำเป็นต้องใช้ และจำนวนเงินลงทุนในทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งจะบ่งบอกถึงขนาดของบริษัท
             2. การตัดสินใจด้านการจัดหาเงินทุน  จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
                    2.1 ส่วนผสมของเงินทุนที่จำเป็นต้องมีการจัดหาไว้ภายในกิจการ
                    2.2 แหล่งเงินทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
                    2.3 สัดส่วนระหว่างหนี้สินและทุนที่เหมาะสม
                    2.4 ประเภทของการจัดหาเงินทุน 2 ประเภท คือ   การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน    หรือการออกหลักทรัพย์ประเภททุนเพื่อจำหน่าย
            3. การตัดสินใจด้านนโยบายเงินปันผล เป็นการตัดสินใจถึงจำนวนเงินที่จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท  โดยมีการกำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลขึ้นที่สามารถใช้เป็นตัวกำหนดกำไรสะสมที่บริษัทยังคงอยู่หลังจากจ่ายเงินปันผลเสร็จสิ้นแล้ว

           สารสนเทศทางการเงิน  หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการเงิน  ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ
           สารสนเทศทางการเงิน    สามารถจำแนกได้เป็น  ประเภท
 1. สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ  คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการรับและจ่ายเงินสด และการจัดหาและการจัดหาเงินทุน ตลอดจนการจัดหาเงินทุนในสินทรัพย์ ดังนี้ สารสนเทศด้านกระแสเงินสด สารสนเทศด้านเงินทุน สารสนเทศด้านการลงทุน
  2. สารสนทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารและจัดการทางการเงิน ดังนี้ สารสนเทศด้านพยากรณ์ทางการเงิน สารสนเทศด้านงบประมาณเงินสด  สารสนเทศด้านงบประมาณลงทุน  สารสนเทศด้านการวิเคราะห์ทางการเงิน สารสนเทศด้านควบคุมทางการเงิน
  3. สารสนเทศภายนอกองค์การ  คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารสนเทศจากตลาดการเงิน   สารสนเทศด้านนโยบายของรัฐ

+เทคโนโลยีทางการเงิน+
1. โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ในบางครั้งอาจรวมอยู่กับโปรแกรมระบบอื่น
2. ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซ  ตัวอย่างระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซมีดังนี้
              2.1 ระบบการแลกเปลี่ยนหุ้นส่วนกลาง
              2.2 ระบบจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศ
              2.3 ระบบหุ้นกู้อิเล็กทรอนิกส์
              2.4 ระบบนำเสนอเช็คคืนอิเล็กทรอนิกส์
              2.5 ระบบนำเสนอใบเรียกเก็บเงินและการชำระตามใบเรียกเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์
3. เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้
              3.1 บัตรเครดิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งสำหรับรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้ใช้จะต้องจัดทำบัตรเครดิตกับองค์การหรือสถาบันทางการเงินภายในวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ
             3.2 บัตรเดบิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งระบบจะยินยอมให้ร้านค้าโอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อเข้าสู่บัญชีผู้ขายทันทีที่เกิดรายการค้าขึ้น
             3.3 ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์ คือ บริการของธนาคารประเภทหนึ่งที่เริ่มจากให้ผู้ขายเช่าตู้ไปรษณีย์ อีกทั้งมอบอำนาจให้แก่ธนาคารเป็นผู้เปิดตู้ไปรษณีย์และนำเช็คไปเข้าบัญชีของผู้ขาย
            3.4 เช็คที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้า เป็นระบบที่อาจนำมาใช้แทนที่ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งระยะเวลาเรียกเก็บเงินที่รวดเร็วขึ้นเนื่องจากสามารถแปลสภาพเช็คเป็นเงินสดได้ในทันทีที่เช็คครบตามกำหนดจ่ายเงิน และไม่จำเป็นต้องมีการลงนามผู้สั่งจ่ายเงินเหมือนเช็คทั่วไป
           3.5 เช็คอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอีกบริการหนึ่งของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่จะทำการใส่วงเงินเข้าสู่กระเป๋าสตังค์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้า
          3.6 การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นวิธีให้บริการโอนเงินแบบดั้งเดิมของธนาคารผ่านสำนักหักบัญชีอัตโนมัติ หรือการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร  โดยธนาคารของผู้ซื้อจะทำการโอนเงินเข้าสู่บัญชีผู้ขายผ่านธนาคารของผู้ขายอัตโนมัติ
         3.7 ระบบธนาคารศูนย์กลาง   มักใช้สำหรับธุรกิจที่มีสำนักงานขายกระจายอยู่ลายแห่งทั่วประเทศ และยังมีการจัดตั้งสำนักงานที่เป็นศูนย์เก็บเงินประจำภูมิภาคเพื่อรับชำระเงินจากลูกค้าในพื้นที่ใกล้เคียงและสามารถนำเช็คไปขึ้นเงินกับสาขาของธนาคารในท้องถิ่นนั้นๆ
4. การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
         4.1 ระบบการเข้าถึงรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจ
         4.2 ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมแผ่นตารางทำการ หรือ โปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจที่เน้นการตัดสินใจทางการเงินโดยเฉพาะ
        4.3 ระบบบริหารโซ่คุณค่าทางการเงิน  คือ พื้นทีอีกด้านนึ่งของการวิเคราะห์ทางการเงิน ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปฏิบัติการโดยมีการวิเคราะห์ในทุกๆหน้าที่งานด้านการเงินรวมทั้งหน้าที่ด้านการค้าเงินระหว่างประเทศ

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

+ระบบสารสนเทศทางการบัญชี+

+ระบบสารสนเทศทางการบัญชี+
ความหมาย
 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ ระบบการทำงานระบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และนโยบายของบริษัท เน้นถึงการใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักดังนี้
           1. การเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของธุรกิจ
           2.  การประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ การวางแผน การสั่งการ และการควบคุม
           3. การจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้
สามารถจัดแบ่งประเภทของผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีได้2 ประเภท
ประเภทที่ 1 ผู้ใช้ภายในธุรกิจประกอบด้วยบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายต่างๆ
ประเภทที่ 2 ผู้ใช้ภายนอกธุรกิจหรือผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจ
การบัญชี
1. ความหมาย
          การบัญชี คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้มือจัดทำบัญชีก็ได้ มี 4ขั้นตอนดังนี้
          ขั้นตอนที่ 1 การจดบันทึก คือ การลงบันทึกความจำซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นของแต่ละวัน
          ขั้นตอนที่ 2 การจำแนก คือ การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้ในสมุดรายวันในจำแนกหมวดหมู่หรือแยกประเภทบัญชีในสมุดขั้นปลาย
          ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผล คือ การนำข้อมูลที่ผ่านการจำแนกประเภทมาสรุปผลเป็นรายงานทางการเงินหรืองบการเงินภายในงวดเวลาบัญชีหนึ่ง
          ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์และแปลความหมาย คือ การนำข้อมูลซึ่งสรุปผลในรายงานทางการเงินมาทำการวิเคราะห์ในรูปของร้อยละ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาแปลความหมายและนำเสนอผลการวิเคราะห์แก่บุคคลที่ เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ
2. การจำแนกประเภท
          สามารถจำแนกประเภทการบัญชีได้เป็น 2 หมวดคือ
          2.1 การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีที่อยู่ภายใต้วัฎจักรการบัญชี มีการสร้างระบบประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีขั้นพื้นฐานของธุรกิจเริ่มตั้งแต่ การจัดเก็บรวบรวมเอกสารขั้นต้นซึ่งบรรจุรายการเปลี่ยนแปลงทางการค้า ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาบันทึกรายการในสมุดขั้นต้นหรือสมุดรายวันและผ่าน รายการบัญชีไปยังสมุดแยกประเภท จากนั้นจึงทำการสรุปยอดคงเหลือในงบทดลองก่อนปรับปรุงรายการเมื่อสิ้นงวดเวลา บัญชีก็จะดำเนินการปรับปรุงรายการบัญชีบางประเภท หลังจากนั้นจึงจัดทำงบกำไรขาดทุนพร้อมทั้งดำเนินการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้า บัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของและทำการปรับงบทดลองหลังปิดบัญชี
2.2 การบัญชีบริหาร คือ การนำข้อมูลบัญชีการเงินมาทำการจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อให้ได้รายงานตาม ความต้องการของผู้ใช้ กำหนดรูปแบบของรายงานไม่มีความชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้รายงาน หรือผู้บริหารระดับต่างๆ ขององค์การโดยส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของรายงานผลการดำเนินงาน
3. หลักการบัญชี คือ มีการนำเสนอสารสนเทศทางการที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้และเป็นที่ยอม รับอย่างกว้างขวางของผู้ใช้งบการเงิน ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต้องคำนึงถึงการเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่เหมาะสมและ มีความสอดคล้องกับผลักบัญชีที่รับรองทั่วไป สามารถสรุปสาระสำคัญของหลักการบัญชีได้ดังนี้
          3.1 หลักการดำรงอยู่ของกิจการ
          3.2  หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ
          3.3 หลักงวดเวลาบัญชี
          3.4 หลักการจำแนกประเภทบัญชี จำแนกออกเป็น 5 หมวดดังนี้
                          3.4.1 สินทรัพย์ หมายถึงทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของธุรกิจและสามารถนำไปใช้ในอนาคตสินทรัพย์บางชนิดอาจเกิดจากการแลกเปลี่ยนทรัพยากร
                          3.4.2 หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกในปัจจุบันที่ส่งผลมาจากการกู้ยืมเงินในอดีต มีสัญญาว่าจะมีการชำระหนี้สินหรือภาระผูกพันนั้นในอนาคต
                          3.4.3 ส่วน ของเจ้าของ หมายถึง จำนวนเงินลงทุนในธุรกิจอีกนัยหนึ่งคือ ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังจากที่มีการหักหนี้สินออก แล้ว
                          3.4.4 รายได้ หมายถึง ราคาสินค้าหรือบริการที่ขายได้ในระหว่างงวดเวลาบัญชี รวมถึงรายได้กำไรที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ อาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
                          3.4.5 ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนของทรัพยากรที่ใช้ไปในการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างเวลางวดเวลาบัญชี รวมถึงรายการขาดทุนที่แสดงถึงการลดลงของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอาจจะเกิดจาก กิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
3.5 หลักการบัญชีคู่ คือ การบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงสองครั้งหรือการอ้างอิงถึงตัวเลขทางการเงินของ รายการค้าถึงสองครั้งโดยครอบคลุมไปถึง การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันและสมุดแยกประเภทคือ
3.5.1 ด้านเดบิต
3.5.2 ด้านเครดิต
          3.6 หลักการใช้หน่วยเงินตรา หน่วยเงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการและยังใช้ เป็นหน่วยวัดราคาอีกด้วย ดังนั้น หน่วยเงินตราจะแสดงถึงตัวเลขที่เป็นตัวเลขเพื่อใช้วัดผลการดำเนินงานและการ เปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของธุรกิจในประเทศไทยจะใช้หน่วยเงินบาทและสตางค์
          3.7 หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม คือ เอกสารขั้นต้นเช่น ใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานก่อนการบันทึกรายการบัญชีที่เกิดขึ้นจริง
          3.8 หลักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือ
                          3.8.1 เกณฑ์เงินสด รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีการรับเงินสดเข้ากิจกาหรือจ่ายเงินสดออกจากกิจการ
                          3.8.2 เกณฑ์คงค้าง  ราย ได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้นแม้ว่าจะไม่ มีการรับหรือจ่ายเงินสดก็ตามสามารถยกตัวอย่างเพื่ออธิบายดังนี้
                          1.การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะรับรู้รายได้เป็นงวดบัญชีที่มีการขายเกิดขึ้นจริงเท่านั้น
                          2. การจ่ายชำระค่าไฟฟ้าของเดือนมีนาคมแต่จ่ายชำระจริงในเดือนเมษายนก็จะต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายในเดือนมีนาคม
          3.9 หลัก การจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย การนำรายได้ที่เกิดขึ้นของงวดเวลาบัญชีนั้นทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายที่ก่อ ให้เกิดรายได้นั้นจึงจะได้ตัวเลขกำไรขาดทุนที่แท้จริง
          3.10 หลักการด้อยค่าของสินทรัพย์  มีการประมาณอายุใช้งานของสินทรัพย์ตลอดจนมีการตัดจ่ายต้นทุนของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งปรากฏในกำไรขาดทุน
สารสนเทศทางการบัญชี
1.แนวคิด
          สารสนเทศ ทางการบัญชี คือ สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ งบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากร และในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆรายงานงบประมาณ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ออกจากระบบสารสนเทศทางการบัญชีและใช้เป็นหลักฐานทางการ เงิน ดังนี้
            1. ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรที่แท้จริงขององค์การ
            2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
            3. ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
            4. ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
            5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
             ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้
2. การจำแนกประเภท แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
          2.1 เอกสารทางการบัญชี คือ หลักฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้บันทึกรายการบัญชีมีจุดเริ่มต้น ตั้งแต่เอกสารที่ระบุแหล่งข้อมูลเบื้องต้นจนกระทั่งเอกสารที่ใช้บันทึก ข้อมูลก่อนที่จะออกงบการเงินจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้
                          2.1.1 เอกสารขั้นต้น เอกสารใช้สำหรับการลงบัญชีและการบันทึกรายการเริ่มตั้งแต่การเกิดรายการค้า
                          2.1.2 สมุดรายวัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมุดบัญชี คือ เอกสารที่นำมาใช้สำหรับการบันทึกบัญชีในระบบมือ
                          2.1.3 บัญชีแยกประเภท เอกสารที่ได้จากการผ่านรายการบัญชีจากสมุดรายวันโดยมีการจำแนกหมวดหมู่บัญชีที่เกี่ยวข้อง
                          2.1.4 งบทดลอง เอกสารที่แสดงยอดคงเหลือในบัญชีทุกบัญชีของบัญชีแยกประเภท
          2.2 รายงานทางการเงิน คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีการเงิน หรือระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
                          2.2.1 งบการเงิน รายงานที่แสดงผลการดำเนินฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการแบ่งได้ดังนี้
                          1. งบดุล แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ
                          2. งบกำไรขาดทุน แสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจ
                          3. งบกระแสเงินสด งบแสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด
                          4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
                          5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดจากรายการและตัวเลขที่แสดงในงบการเงินประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
                          1. เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน
                          2. นโยบายการบัญชีที่ธุรกิจเลือกใช้ของแต่ละหัวข้อบัญชี
                          3. ข้อมูลส่วนอื่น
2.2.2 รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 3 รูปแบบดังนี้
                          1.รายงานภาษีขายเป็นรายงานที่กำหนดให้ธุรกิจบันทึกภาษีขายที่ธุรกิจพึงเรียกเก็บจากลูกค้า
                          2. รายงานภาษีซื้อ รายงานที่ธุรกิจบันทึกภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บจากธุรกิจผู้จำหน่ายสินค้า
                          3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ แสดงสินค้าที่ได้มาและจำหน่ายไป
          2.3 รายงานทางการบริหาร คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการนำสารสนเทศที่ไดจากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์ ทางการเงินเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ตัดสินใจทางการดำเนินงานและการ บริหารภายในองค์การ การกำหนดรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริหารระดับต่างๆสามารถยก ตัวอย่างได้ดังนี้
          2.3.1 รายงานด้านงบประมาณ
          2.3.2 รายงานด้านการบัญชีต้นทุน
          2.3.3 รายงานวิเคราะห์งบการเงิน
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
      1. Hall ระบุถึง การรวมตัวของระบบย่อยของระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3 ระบบดังนี้
            2. ระบบประมวลผลธุรกรรม คือ ระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจประจำวัน
            3. ระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานทางการเงิน
             ระบบรายงานทางการบริหาร คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานที่ใช้ภายในองค์การ
ระบบ ประมวลผลธุรกรรมจะมีการจำแนกธุรกรรมที่เป็นตัวเงินขั้นพื้นฐานทางการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการเงิน ผ่านรายการเข้าสู่ระบบบัญชีแยกประเภททำการปรับยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยว ข้องเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผลเพื่อออกรายงานทางการเงินเมื่อสิ้น งวดวันออกบัญชี การประมวลสารสนเทศทางการบัญชีที่เป็นผลลัพธ์จากบัญชีแยกประเภทเพื่อตอบสนอง ความต้องการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร สามารถแยกได้ 5 ระบบดังนี้
      1. ระบบประมวลผลธุรกรรม มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและเกิดขึ้นซ้ำๆ ในแต่ละวันทำการ การเกิดขึ้นซ้ำของธุรกรรมนี้เรียกว่า วัฏจักรรายการค้า
          พลพธู ปิยวรรณ และสุภาพรรณ เชิงเอี่ยม จำแนกวัฏจักรรายการค้าเป็น4 ประเภทคือ
1.1 วัฏจักรรายจ่าย ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
              1. การสั่งซื้อละรับสินค้า
              2. การควบคุมเจ้าหนี้และเงินสดจ่าย
              3. การซื้อสินทรัพย์ถาวร
              4. การจ่ายเงินเดือนพนักงาน
1.2 วัฏจักรรายได้ ที่ก่อให้เกิดรายรับเข้าธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
              1. การขายและจัดส่งสินค้า
              2. การแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน
              3. การควบคุมลูกหนี้และรับชำระเงิน
1.3 วัฏจักร การแปลงสภาพ ที่ก่อให้เกิดการแปลงสภาพทรัพยากรวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงาน ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปตามคำสั่งผลิตของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจ ดังนี้
             1. การควบคุมวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ
             2. การผลิต
             3. การคำนวณต้นทุนการผลิต
1.4 วัฏจักรการบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสินทรัพย์ของธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
            1. การควบคุมเงินสด
            2. การควบคุมสินทรัพย์
2. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจ
          ลำดับ แรกของการเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจภายใต้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นต้อง จัดเตรียมผังบัญชีที่แสดงการจัดหมวดหมู่บัญชีภายใต้การดำเนินงานของธุรกิจ อย่างเป็นระเบียบกระบวนการของระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจอธิบายได้โดยใช้ แผนภาพกระแสข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่นๆโดยการรับเข้าธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจาก ระบบสารสนเทศอื่น เพื่อมาประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ สารสนเทศทางการบัญชีอธิบายได้ดังนี้
          1.ระบบสารสนเทศทางการผลิตจะส่งธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อวัตถุดิบและการผลิตสินค้าเข้าสู่ระบบ
          2. ระบบสารสนเทศทางการตลาดจะส่งธุรกรรมการขายสินค้าเข้าสู่ระบบ
          3. ระบบสารสนเทศทางการเงินจะส่งธุรกรรมการรับและจ่ายเงินสดเข้าสู่ระบบ
          4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะส่งธุรกรรมการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่ระบบ
          5. ผู้จัดการงานจะส่งรายการปรับปรุงบัญชีและงบประมาณเข้าสู่ระบบ
          6. ผู้ใช้รายงานจะรับรายงานทางการเงินและการบริหารที่ออกจากระบบ
3.ระบบบัญชีแยกประเภท
          3.1 การบันทึกรายการปรับปรุงเป็นขั้นตอนการนำเข้ารายการปรับปรุงบัญชี อาจจะเป็นการปรับปรุงข้อผิดพลาดที่พบในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบสารสนเทศ อื่น
          3.2 การผ่านรายการบัญชี เป็นขั้นตอนของการโอนรายการจากบัญชีสมุดรายวันทั่วไปเข้าสู่แยกประเภท
3.3 การ ปรับปรุงยอดคงเหลือหลังจากที่ระบบมีการผ่านข้อมูลบัญชีเรียบร้อย ระบบจะทำการปรับปรุงยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยวข้องแต่ละบัญชีภายในแฟ้มงบ ทดลองให้เป็นปัจจุบัน
3.4 การออกรายงานการผ่านบัญชีเป็นขั้นตอนการออกรายงานที่ได้จากการผ่านรายการบัญชี
4. ระบบออกรายงานทางการเงิน
          4.1 การประมวลผลรายงาน
          4.2 การพิมพ์รายงานเป็นขั้นตอนหลังจากการประมวลผลรายงานเรียบร้อยแล้ว
          4.3 การปิดบัญชีเป็นขั้นตอนหลังออกรายงานทางการเงินเรียบร้อยแล้ว
5. ระบบออกรายงานทางการบริหาร
          5.1 การจัดเตรียมรูปแบบรายงาน
          5.2 การประมวลผลรายงาน
          5.3 การพิมพ์รายงาน
เทคโนโลยีทางการบัญชี
       1.โปรแกรม สำเร็จรูปทางการบัญชี คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟแวร์ถูกพัฒนาขึ้นใช้ เฉพาะกับงานด้านการบัญชีและจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล (ดีบีเอ็มเอส) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลทางการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ สามารถออกรายงานทางการเงินและการบริหารได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้จะต้องเน้นการควบคุมทางการบัญชีในส่วนการควบคุมเฉพาะระบบ ทั้งในด้านการควบคุมด้านการเข้าถึง การรับเข้า การประมวลผล และการส่งออกข้อมูล
          โปรแกรม สำเร็จรูปทางการบัญชี คือ โปรแกรมที่เน้นการบันทึก การประมวลผลและการนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมโดยมีการบันทึกข้อมูล รายวัน การผ่านบัญชีไปสมุดแยกประเภท การรายงานสรุปผลในงบการเงินต่างๆผลลัพธ์ของโปรแกรมอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือรายงานต่างๆมีคุณสมบัติ ดังนี้
              1. มีองค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมครบถ้วน
              2. มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านการกำหนดขนาดแฟ้มข้อมูล
              3. ความสามารถของโปรแกรมในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถในการทำงานสูง
             4. มีความสามารถใช้การเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบลูกข่าย แม่ข่าย
             5. เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง
             6. มีระบบการกำหนดรหัสผ่านหลายระดับ
             7. มีการสร้างแฟ้มหลักรวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มหลัก
             8. มีระบบการรับเข้าข้อมูลและตรวจทานการรับเข้าข้อมูล
             9. การป้อนข้อมูลทางหน้าจออยู่ในลักษณะของการรับข้อมูลไดมากกว่าหนึ่งรายการ
           10. มีระบบป้องกันการผ่านบัญชีที่ผิดพลาด
           11. มีความยืดหยุ่นของการปิดงวดบัญชี
           12. มีโปรแกรมพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารหรือรายงาน
           13. การโอนย้ายข้อมูลภายในระบบสร้างความคล่องตัวให้กับผู้ใช้ข้อมูล
          2. การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ต
          งบ การเงิน คือ รายงานทางการเงินที่นำเสนอต่อผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ตเป็นวิถีทางหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงงบการ เงินได้กว้างไกลทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
          คณะ กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไดพัฒนาฐานข้อมูลเอดการ์ขึ้น เพื่อใช้เก็บรวบรวมรายงานขึ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ ประเทศสหรัฐอเมริกาในรูปแบบที่เป็นข้อความแต่ไม่สามารถนำรายงานทางการเงิน ของแต่ละบริษัทมาเปรียบเทียบกันได้เนื่องจากโครงสร้างงบการเงินต่างกันและ ถูกพัฒนาด้วยชุดคำสั่งที่ต่างกัน
3. โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบลูกข่าย แม่ข่าย โดยทำการเชื่อมต่อกระบวนการทางธุรกิจภายในองค์การ ในส่วนการประมวลผลธุรกรรมของระบบสารสนเทศทางธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยมี การใช้ฐานข้อมูลรวมขององค์การเพียงข้อมูลเดียวและมีการนำเข้าข้อมูลเพียง ครั้งเดียวผู้ใช้ในหน่วยงานต่างๆ
          ความ สามารถของโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การยุคปัจจุบัน นอกจากการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การด้วยฐานข้อมูลเดียวกัน ขยายขอบเขตไปถึงการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การเข้าด้วยกันหรืออีก นัยหนึ่งคือ การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การเข้ากับการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายใน องค์การคู่ค้า





วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบสารสนเทศทางการผลิต

                   +ระบบสารสนเทศทางการผลิต+

+ความหมายของระบบสารสนเทศทางการผลิต+    
      ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่งานด้านการผลิตและการดำเนินงาน  ตลอดจนกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผนการควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ โดยจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลธุรกรรมด้านการผลิตและการดำเนินงาน

+การจัดการผลิตและดำเนินงาน+
       การผลิตและการดำเนินงาน  คือ  กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การซึ่งถือเป็นกระบวนการสร้างมูลค่าให้กับการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่า ส่งตรงถึงมือลูกค้าหรือผู้บริโภค และมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านการตลาดเป็นไปอย่างราบรื่น
 กระบวนการผลิตเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตและดำเนินงานเพราะปัจจัยการผลิตคือ สิ่งรับเข้า กระบวนการผลิต คือ การประมวลผล และผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งส่งออก ซึ่งสื่อถึงความหมายของระบบการผลิตนั่นเองหากปัจจัยการผลิตของธุรกิจประกอบด้วยทรัพยากรมนุษย์ทางด้านแรงงานและด้านบริหารสินทรัพย์ประเภททุน ก็ยังมีสิ่งนำเข้ากระบวนการผลิตอื่นที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของธุรกิจ คือ ความคิดเห็นของลูกค้าภายในละภายนอกองค์การตลอดจนสารสนเทศด้านผลการประกอบการขององค์การ

+วิวัฒนาการการผลิต+
    ในระยะเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการผลิตบนพื้นฐานการผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง เน้นด้านการผลิตสินค้าปริมาณมากและขายสินค้าผ่านเครือข่ายของช่องทางการตลาดหลากหลายรูปแบบ  เวลาต่อมาจึงได้เปลี่ยนวิธีการผลิตโดยการนำแนวคิดของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีมาใช้และใช้วิธีการผลิตตามคำสั่งหรือวิธีการประกอบสินค้าตามคำสั่ง  มาแทนที่การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง

+กลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงาน+
       เน้นถึงความต้องการของลูกค้าที่สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายระยะยาวขององค์การ  อาศัยความร่วมมือจากแผนกการตลาดและการผลิตที่จะทำการค้นหาความต้องการของลูกค้าละนำมากำหนดเป็นความได้เปรียบทางการผลิต  การผลิตตามความต้องการของลูกค้าและปริมาณการผลิตมีความยืดหยุ่น  ซึ่งริทซ์แมนและกาจิวสกีจำแนกกลยุทธ์การผลิตเป็น  3 กลยุทธ์ ดังนี้
  1. การเก็บเป็นสินค้าคงคลัง ธุรกิจมักจะมีการผลิตสินค้าเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งมอบแก่ลูกค้าทันที  เหมาะกับการผลิตสินค้ามาตรฐานที่มีการผลิตในปริมาณมาก
 2. การผลิตตามคำสั่ง เป็นการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าโดยผลิตเป็นล็อต ในปริมาณน้อยการออกแบบกระบวนการผลิตแต่ละครั้งจะขึ้นกับความต้องการของลูกค้า
 3. การประกอบสินค้าตามคำสั่ง เป็นการประกอบชิ้นส่วนมาตรฐานตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในคำสั่งซื้อของลูกค้า และนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน

+หน้าที่ทางการผลิตและดำเนินงาน+
     นับเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ  ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆที่ก่อเกิดผลผลิตในรูปแบบของสินค้าหรือบริการ และจัดแบ่งหน้าที่เป็น  2 ด้าน คือ หน้าที่ด้านการผลิต เน้นความพึงพอใจของลูกค้าหรือบริการของธุรกิจเป็นหลัก  โดยจัดแบ่งหน้าที่การผลิตดังนี้
          1. การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์  เพื่อช่วยหาคำตอบว่าจะผลิตอะไร จำนวนเท่าใด ผลิตอย่างไร เกิดความต้องการผลิตสินค้าและบริการเมื่อใด
          2. การออกแบบกระบวนการผลิต เพื่อได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้าและมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
          3. การวางแผนทำเลที่ตั้งโรงงาน  เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการผลิตในส่วนลดต้นทุนการขนส่ง  และรักษาคุณภาพของวัสดุระหว่างการขนส่ง
          4. การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน  โดยทำการวางแผนกำลังการผลิต การจัดสรรทรัพยากรการผลิตและการจัดตารางการผลิต เพื่อระบุวันเริ่มผลิตและส่งมอบสินค้า
          5. การจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือ  โดยเลือกใช้ระบบการจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือที่ดี มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการงานระหว่างทำ ซึ่งก็คือสินค้าที่ยังผลิตไม่เสร็จและจะต้องทำการผลิตต่อ โดยโดยเลือกใช้เทคโนโลยีในช่วยในการจัดการ
          6. การควบคุมคุณภาพสินค้า  โดยทำการควบคุมและรักษาระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้
          7. การลดต้นทุนการผลิต โดยทำการค้นหาวิธี  หรือแนวคิดใดๆซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของการลดต้นทุนการผลิตสินค้าหรือบริการ
          8. การขจัดความสูญเปล่าเป็นแนวคิดหนึ่งของระบบการผลิตสมัยใหม่ที่นำมาใช้อย่างได้ผลในปัจจุบัน  โดยจะต้องออกแบบและดำเนินการตามมาตรการที่ลดความสูญเปล่าในโรงงาน
          9. ความปลอดภัยในโรงงาน โยสร้างระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงานซึ่งสามารถช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในโรงงาน เช่น   ISO  14000
        10. การเพิ่มผลผลิตทางการผลิต  โดยการแสวงหาวิธีการเพิ่มผลผลิตในโรงงาน  รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์อีกด้วย ซึ่งอาจใช้วิธีขจัดความสูญเปล่าเข้าช่วย
        11. การบำรุงรักษา  โดยมีการบำรุงรักษาระบบการแปรรูปผลผลิตให้คงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ  การดำเนินงานและความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง โดยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการผลิตหรือให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส
        12. การประสานงานกับหน่วยงานอื่น  คือ  หน้าที่ของฝ่ายผลิตที่จะต้องประสานงานกับฝ่ายตลาด ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ตลอดจนผู้ขายวัตถุดิบ เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ
+การจัดการโซ่อุปทาน+  
           หมายถึง  การกำหนดกระบวนการบูรณาการด้านการวางแผน การจัดหา การผลิต การจัดส่ง และการค้นคืนสินค้า
+การจัดการโลจิสติกส์+
         ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน  คือ  การวางแผน  การปฏิบัติการและการควบคุมอย่างมประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นถึงประสิทธิผลของการไหลของสินค้า  การจัดเก็บสินค้า  การบริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดบริโภค  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
+ระบบการผลิตยุคใหม่+  ปัจจุบันมี  2ระบบ  คือ
               1. ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี  คือ  แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตแบบโตโยต้า  ซึ่งยึดหลักการสำคัญ   คือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการในเวลาที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้เหลือน้อยที่สุด    โครงสร้างของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี
              2. ระบบการผลิตแบบลีน  เป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าทำเกิดมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง  และมุ่งขจัดความสูญเปล่าอันสืบเนื่องมาจากทั้งด้านคุณภาพ  ราคา  การจัดส่งสินค้าและบริการแก่ลูกค้า
+การจำแนกประเภท+  สารสนเทศสามารถจำแนกประเภทได้  3  ประเภท ดังนี้
   1. สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการดำเนินงานการผลิตในส่วนต่างๆ 
              1.1   สารสนเทศด้านการดำเนินการผลิต ครอบคลุมถึงสารสนเทศด้านการปฏิบัติการผลิตประจำวัน  ต้นทุนการผลิต  สินค้าสำเร็จรูป  และงานระหว่างทำ
           1.2   สารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพ  คือ  สารสนเทศที่ระบุถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซึ่งถือเป็นหัวใจของการผลิต  ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างผลผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
           1.3   สารสนเทศด้านการแก้ปัญหา คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้นพบสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น ในช่วงการผลิต ซึ่ง อาจจะต้องใช้เวลาและต้นทุนการค้นพบที่มีมูลค่าสูง   รวมทั้งมีการใช้อุปกรณ์พิเศษ
2. สารสนเทศเชิงบริหาร  คือ  สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการวางแผนและจัดการผลิต  ดังนี้
      2.1 สารสนเทศด้านออกแบบการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้จากการปฏิบัติการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ 
2.2 สารสนเทศด้านวางแผนการผลิต  คือ สารสนเทศที่ได้จากการวางแผนการผลิตด้านต่างๆ
2.3 สารสนเทศด้านการจัดการโลจิสติกส์  คือ  สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดหาและการขนส่งวัสดุเข้าโรงงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผลิต 
2.4 สารสนเทศด้านควบคุมการผลิต คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานด้านการควบคุมกระบวนการผลิต  การควบคุมต้นทุนการผลิต
3. สารสนเทศภายนอกองค์การ  คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอองค์การ  ซึ่งจำแนกได้เป็น  2  ประเภท คือ
3.1  สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ คือ สารสนเทศที่ได้จากผู้ขายวัสดุ ภายในเครือข่ายด้านโซ่อุปทานขององค์การ
3.2 สารสนเทศด้านผู้ขนส่งวัสดุ คือ สารสนเทศที่ได้จากผู้ให้บริการขนส่งวัสดุ